รหัสดีโอไอ | 10.14457/TU.the.2022.240 |
---|---|
Title | ผลกระทบความใกล้ชิดที่มีต่อการเติบโตของสตาร์ทอัพในการบ่มเพาะธุรกิจ |
Creator | ณฐมน ไรวา |
Contributor | วศินี หนุนภักดี, ที่ปรึกษา |
Publisher | มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
Publication Year | 2565 |
Keyword | ความใกล้ชิด, การเติบโตของสตาร์ทอัพ, การบ่มเพาะธุรกิจ, Proximity, Startup growth, Business incubation |
Abstract | วิกฤตการณ์โรคระบาดอุบัติใหม่ ส่งผลต่อความถดถอยทางเศรษฐกิจ และความเหลื่อมล้ำทางสังคม โดยเฉพาะการเข้าถึงทรัพยากรในการดำเนินธุรกิจขนาดเล็กอย่างสตาร์ทอัพ ด้วยเหตุนี้หน่วยงานที่มีบทบาทเสมือนตัวกลางเชื่อมโยงระหว่างผู้ประกอบการ นักลงทุน และผู้บริโภค จึงทุ่มเทความพยายามเพื่อบ่มเพาะธุรกิจให้มีการเติบโตและการอยู่รอดได้ โดยสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ ทรัพยากรทางปัญญา เครือข่าย สถานที่ทำงานร่วมกัน รวมถึงสร้างโอกาสจากนักลงทุน แต่จากการทบทวนวรรณกรรมในวารสารระดับนานาชาติ ผู้วิจัยพบว่า ภายใต้กระบวนการบ่มเพาะธุรกิจ ยังคงมีสตาร์ทอัพที่ไม่สามารถสร้างโอกาสในการเติบโตซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยทางสังคมบางประการ เพื่อศึกษาปรากฎการณ์ทางสังคมดังกล่าว ผู้วิจัยจึงนำแนวคิดความใกล้ชิดมาอธิบาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ผลกระทบความใกล้ชิดทั้ง 5 มิติ ประกอบด้วย ความใกล้ชิดเชิงความรู้ทางปัญญา ความใกล้ชิดเชิงองค์การ ความใกล้ชิดเชิงสังคม ความใกล้ชิดเชิงสถาบัน และความใกล้ชิดเชิงภูมิศาสตร์ ที่มีต่อการเติบโตของสตาร์ทอัพในแง่การสร้างธุรกิจใหม่ และการสร้างความร่วมมือภายใต้กระบวนการบ่มเพาะธุรกิจ ด้วยวิธีการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติคทวิ จากการเก็บข้อมูลในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 100 สตาร์ทอัพที่เคยผ่านการบ่มเพาะ ประกอบกับสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 4 ท่านดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้ ปรากฏผลการวิจัยว่าความใกล้ชิดเชิงความรู้ทางปัญญา ความใกล้ชิดเชิงสถาบัน และความใกล้ชิดเชิงภูมิศาสตร์ส่งอิทธิพลต่อการสร้างธุรกิจใหม่ อีกด้านหนึ่ง ความใกล้ชิดเชิงความรู้ทางปัญญา ความใกล้ชิดเชิงสถาบัน และความใกล้ชิดเชิงสังคมส่งอิทธิพลต่อการสร้างความร่วมมือ อย่างไรก็ตาม การเติบโตของสตาร์ทอัพย่อมมีปัจจัยอื่นที่ส่งอิทธิพลร่วมด้วยเสมอ ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงได้นำเสนอปัจจัยร่วมต่าง ๆ เป็นกรอบแนวคิดที่เข้าใจได้ง่ายในส่วนบทสรุปช่วงท้ายของเล่ม |
ดิจิตอลไฟล์ |
Digital File #1 |