รหัสดีโอไอ | 10.14457/TU.the.2022.238 |
---|---|
Title | การวิเคราะห์การแปลถ้อยคำต้องห้ามที่พบในบทบรรยายใต้ภาพละครชุดเรื่อง “ไดอารี่ตุ๊ดซี่ส์” ซีซั่นที่ 1 |
Creator | จามีกร ศรีขันซ้าย |
Contributor | กมลรัตน์ ศรีหารักษา, ที่ปรึกษา |
Publisher | มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
Publication Year | 2565 |
Keyword | คำต้องห้าม, กลวิธีการแปล, ความไม่เท่าเทียมกัน, คำบรรยายใต้ภาพ, ภาษาปลายทาง, ภาษาต้นฉบับ, Taboo words, Translation strategies, Non-equivalence, Subtitle, Target language, Source language |
Abstract | ในปัจจุบันนี้สื่อต่างๆ ไม่ว่าจะในโทรทัศน์ ภาพยนตร์ หรือสื่อสังคมอื่นๆ ต่างก็มีการใช้งานคำต้องห้ามกันอย่างแพร่หลาย ผู้วิจัยจึงเล็งเห็นความสำคัญของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น และได้จัดทำงานวิจัยฉบับนี้ขึ้นมา โดยมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาประเภทของคำต้องห้าม กลวิธีการแปลคำต้องห้าม และความไม่เท่าเทียมกันที่พบในบทบรรยายใต้ภาพละครชุดเรื่อง “ไดอารี่ตุ๊ดซี่ส์” ซีซั่นที่ 1 โดยเก็บข้อมูลเฉพาะตอนที่ 1-6 จากบทบรรยายใต้ภาพของ Netflix ได้ข้อมูลคำต้องห้ามทั้งหมด 133 ตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่าประเภทของถ้อยคำต้องห้ามในละครชุดเรื่องดังกล่าวมีทั้งหมด 14 ประเภท สามารถเรียงลำดับจำนวนที่พบจากมากที่สุดไปจนถึงน้อยที่สุด ดังนี้ 1. สิ่งสกปรก/ของเสียที่ไม่เป็นที่ต้องการ 2. คำเรียกเครือญาติ 3. สัตว์ 4. ลักษณะนิสัยและความประพฤติ 5. คำสแลง 6. ความผิดปกติทางสมอง 7. ความเชื่อทางศาสนา/ภูตผี 8. เรื่องที่เกี่ยวกับเพศ/อวัยวะเพศ 9. พืชพรรณ 10. อวัยวะในร่างกาย 11. รูปลักษณ์ 12. ไสยศาสตร์ 13. โรค/อาการของโรค และ 14. อาวุธ ด้านกลวิธีการแปล พบว่าผู้แปลใช้กลวิธีในการแปลคำต้องห้ามทั้งหมด 12 กลวิธี ประกอบไปด้วย 1. การแปลตรงตัว 2. การแปลให้มีความหมายที่เบาลง 3. การแทนที่คำต้องห้ามในภาษาต้นฉบับด้วยคำต้องห้ามในภาษาปลายทาง 4. การละ 5. การบิดเบือนเนื้อหา 6. การตีความใหม่ 7. การแปลโดยการย่นย่อเนื้อหา 8. การแปลอธิบายขยายความให้ชัดเจนขึ้น 9. การเปลี่ยนโครงสร้าง 10. การเพิ่ม 11. การตัดทอนเนื้อหา และ 12. การใช้คำรื่นหู ส่วนในด้านความไม่เท่าเทียมกันที่พบจากการแปลคำต้องห้ามทั้ง 133 ตั้วอย่าง ผู้วิจัยพบความไม่เท่าเทียมกันอยู่ทั้งหมด 104 ตัวอย่าง โดยแบ่งออกเป็นสามประเด็นหลัก ๆ คือ ด้านความหมาย บริบทการใช้งาน และระดับความหยาบคาย ซึ่งในประเด็นด้านความหมายจะเห็นได้ว่าความเท่าเทียมกันด้านความหมายโดยตรงของคำต้องห้ามนั้นพบเพียง 62 ตัวอย่าง และเมื่อเทียบกันในด้านบริบทการใช้งาน พบว่ามีความเท่าเทียมกันทั้งสิ้น 70 ตัวอย่าง ประเด็นสุดท้ายคือเรื่องระดับความหยาบคาย จากการศึกษา มีเพียง 54 ตัวอย่างที่มีระดับความหยาบคายเท่าเทียมกันกับในภาษาต้นฉบับ |
ดิจิตอลไฟล์ |
Digital File #1 |