รหัสดีโอไอ 10.14457/TU.the.2022.237
Title บทแปลเรื่อง “พระชายาโชกุน” ของเลสลีย์ ดาวเนอร์ พร้อมบทวิเคราะห์
Creator ธีรชัย โพธิ์ประสิทธิ์
Contributor อภิศักดิ์ ภู่พิพัฒน์, ที่ปรึกษา
Publisher มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Publication Year 2565
Keyword การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม, สำนวนและภาษาภาพพจน์, ประเด็นทางภาษาศาสตร์เชิงสังคม, ปิตาธิปไตย, ญี่ปุ่น, Intercultural communication, Idioms and figurative language, Sociolinguistic factors, Patriarchy, Japan
Abstract สารนิพนธ์ฉบับนี้แปลจากต้นฉบับนวนิยายเรื่อง “พระชายาโชกุน” ของเลสลีย์ ดาวเนอร์ มีจุดประสงค์เพื่อนำเสนอบทแปลภาษาไทยพร้อมบทวิเคราะห์ ไม่ว่าจะเป็นกลวิธีการแปลและแนวทางการแก้ไข การแปลนวนิยายดังกล่าวมีเนื้อหาเชิงวัฒนธรรม ผู้ศึกษาจะมุ่งเน้นการถ่ายทอดรูปแบบภาษา ลีลาการเขียนและเนื้อหาให้ครบถ้วนตามต้นฉบับโดยใช้แนวคิดทฤษฎีการแปลและแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ได้ศึกษามา ในขั้นตอนการแปล ผู้ศึกษาพบประเด็นปัญหาในการถ่ายทอดความหมายทั้งหมด 4 ประเด็น ได้แก่ (1) ประเด็นที่เกิดจากปัญหาความแตกต่างทางวัฒนธรรม (2) ประเด็นที่เกิดจากปัญหาการถ่ายทอดสำนวนสุภาษิตและภาษาภาพพจน์ (3) การแปลโดยอิงประเด็นภาษาศาสตร์เชิงสังคม (4) ประเด็นบทบาทของผู้หญิงในสังคมปิตาธิไตยซึ่งมีผลต่อการตีความบทแปล จากการศึกษาพบว่ากลวิธีที่ใช้ในการแก้ปัญหาในการแปลนวนิยายเรื่องนี้โดยเรียงจากกลวิธีที่ใช้มากที่สุดไปหาน้อยที่สุดมีดังนี้ ผู้ศึกษาใช้กลวิธีการแก้ปัญหาในประเด็นทางวัฒนธรรมทั้งหมด 4 กลวิธี ได้แก่ 1.กลวิธีการแปลตรงตัว 2.กลวิธีการแปลทับศัพท์ 3.กลวิธีการแทนที่คำด้วยวัฒนธรรมปลายทาง 4.กลวิธีการแปลคำใหม่ สำหรับการแปลสำนวน ผู้ศึกษาใช้ มี 4 กลวิธีคือ 1.การแปลงเนื้อความใหม่ 2.การใช้สำนวนที่มีรูปแบบและความหมายที่ใกล้เคียงมาเทียบเคียงกัน 3.การใช้สำนวนที่มีความหมายคล้ายกันแต่รูปประโยคหรือลักษณะต่างกันมาเทียบเคียง 4.การแปลตรงตัว ในส่วนของภาษาภาพพจน์ ผู้ศึกษาได้ใช้กลวิธี ดังต่อไปนี้ 1.ในการแปลอุปมา อุปลักษณ์ นามนัย และสัญลักษณ์ ผู้ศึกษาใช้ 2 กลวิธี ได้แก่ การแปลโดยการรักษาคำเปรียบเทียบเดิม และการแปลปรับบท 2.การแปล(2) บุลคลาธิษฐานผู้ศึกษาใช้ การแปลตรงตัว 3.การแปลอติพจน์ผู้ศึกษาใช้ 3 กลวิธี ได้แก่ การแปลรักษาคำเปรียบเทียบเดิม การปรับบทแปล และการแปลเพิ่ม ต่อมาในประเด็นเกี่ยวกับภาษาศาสตร์เชิงสังคมที่มีผลต่อการแปลนวนิยายเรื่อง “พระชายาโชกุน” ได้แก่ 1. เพศซึ่งปรากฎในรูปแบบการใช้สรรพนาม คำลงท้าย และคำเรียกขาน 2. ชนชั้นในรูปแบบการใช้สรรพนาม และคำเรียกขาน 3. คำเรียกญาติสำหรับอายุ 4. ความสัมพันธ์ระหว่างผู้พูดกับผู้ฟังรวมทั้งสถานภาพจะปรากฎในรูปแบบคำเรียกขานหรือคำลงท้าย นอกจากนี้ บทบาทของผู้หญิงภายใต้สังคมปิตาธิปไตย ผู้ศึกษาพบว่า บทบาทของผู้หญิงในสภาพสังคมดังกล่าวคือ 1. ผู้หญิงมีหน้าที่ต้องไปแต่งงานตามคำสั่งผู้นำตระกูลเท่านั้น 2. ผู้นำตระกูลสามารถเข้าถึงทรัพยากรของฝ่ายชายผ่านการแต่งงาน 3. ผู้หญิงจะต้องเป็นทั้งภรรยาที่ให้กำเนิดบุตร และคอยจัดการงานภายในครัวเรือน ตลอดจนการปรนนิบัติสามี 4. ผู้หญิงจะต้องวางตัวอยู่ในศีลธรรมอันดีและไม่มีสัมพันธ์กับผู้อื่นนอกจากสามีตัวเอง การพิจารณาบริบทดังกล่าวมีผลอย่างมากในการตีความบทแปลร่วมกับภาษาภาพพจน์
ดิจิตอลไฟล์ Digital File #1

บรรณานุกรม

ธีรชัย โพธิ์ประสิทธิ์ และผู้แต่งคนอื่นๆ. (2565) บทแปลเรื่อง “พระชายาโชกุน” ของเลสลีย์ ดาวเนอร์ พร้อมบทวิเคราะห์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์:ม.ป.ท.
ธีรชัย โพธิ์ประสิทธิ์ และผู้แต่งคนอื่นๆ. 2565. บทแปลเรื่อง “พระชายาโชกุน” ของเลสลีย์ ดาวเนอร์ พร้อมบทวิเคราะห์. ม.ป.ท.:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์;
ธีรชัย โพธิ์ประสิทธิ์ และผู้แต่งคนอื่นๆ. บทแปลเรื่อง “พระชายาโชกุน” ของเลสลีย์ ดาวเนอร์ พร้อมบทวิเคราะห์. ม.ป.ท.:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2565. Print.