รหัสดีโอไอ 10.14457/TU.the.2022.236
Title การหาค่าจำนวนคุณสมบัติของเอ็มเอฟซีซีที่เหมาะสมสำหรับการจำแนกประเภทเสียงร้องของเด็กเล็ก
Creator นัฐลดา มีผิว
Contributor ปกรณ์ ลี้สุทธิพรชัย, ที่ปรึกษา
Publisher มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Publication Year 2565
Keyword เสียงร้องไห้ของเด็กเล็ก, สัมประสิทธิ์เซปตรัมบนสเกลเมล, ต้นไม้ตัดสินใจ, นาอีฟเบย์ส, ซัพพอร์ตเวกเตอร์แมชชีน, Infant cry, Mel frequency cepstral coefficients (MFCC), Decision tree, Naïve bayes, Support vector machine
Abstract เด็กเล็กเรียกร้องความสนใจผ่านการร้องไห้ ซึ่งการร้องไห้อาจมาจากหลากหลายสาเหตุ (เช่น เรียกร้องความสนใจ หิว ต้องการเปลี่ยนผ้าอ้อม) เสียงร้องไห้ของเด็กเล็กแต่ละครั้งมีลักษณะ รูปแบบของการร้องที่ดูคล้ายกันและเป็นการยากสำหรับบุคคลที่ไม่คุ้นชิน ที่จะสามารถแยกได้ว่าที่เด็ก ร้องไห้แต่ละครั้งนั้นต้องการสิ่งใด โดยงานวิจัยนี้ได้นำจำนวนของสัมประสิทธิ์เซปตรัมบนสเกลเมล (Mel Frequency Cepstral Coefficients : MFCC) มาใช้เปรียบเทียบเพื่อเลือกค่าที่เหมาะสมที่สุด สำหรับการจัดกลุ่มความหมายของเสียงร้องไห้ โดยได้เลือกใช้โมเดลในการจัดกลุ่มที่เข้าใจง่ายรวมถึง เป็นที่รู้จัก ได้แก่ ต้นไม้ตัดสินใจ (Decision Tree) นาอีฟเบย์ส (Naive Bayes) และ ซัพพอร์ต เวกเตอร์แมชชีน (Support Vector Machine) เพื่อใช้จำแนกเสียงร้องไห้ของเด็กเล็ก จากการทดลอง พบว่า ซัพพอร์ตเวกเตอร์แมชชีนมีประสิทธิภาพมากที่สุดโดยวัดจากค่าของ Accuracy และ F1-score (*100) โดยมีคะแนนคือ ร้อยละ 70 และร้อยละ 71 ตามลำดับ โดยจำนวนคุณสมบัติที่ได้ผลลัพธ์ดี ที่สุดคือจำนวน 11 คุณสมบัติซึ่งจากผลการทดลองที่ได้ทำให้สามารถสรุปได้ว่า MCFF:11 เป็น จำนวนคุณสมบัติที่เหมาะสมที่สุด
ดิจิตอลไฟล์ Digital File #1

บรรณานุกรม

นัฐลดา มีผิว และผู้แต่งคนอื่นๆ. (2565) การหาค่าจำนวนคุณสมบัติของเอ็มเอฟซีซีที่เหมาะสมสำหรับการจำแนกประเภทเสียงร้องของเด็กเล็ก. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์:ม.ป.ท.
นัฐลดา มีผิว และผู้แต่งคนอื่นๆ. 2565. การหาค่าจำนวนคุณสมบัติของเอ็มเอฟซีซีที่เหมาะสมสำหรับการจำแนกประเภทเสียงร้องของเด็กเล็ก. ม.ป.ท.:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์;
นัฐลดา มีผิว และผู้แต่งคนอื่นๆ. การหาค่าจำนวนคุณสมบัติของเอ็มเอฟซีซีที่เหมาะสมสำหรับการจำแนกประเภทเสียงร้องของเด็กเล็ก. ม.ป.ท.:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2565. Print.