รหัสดีโอไอ | 10.14457/TU.the.2022.210 |
---|---|
Title | ความสัมพันธ์ของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน และ 2.5 ไมครอนกับข้อมูลสุขภาพของประชาชนในจังหวัดสระบุรี |
Creator | ภัทราภรณ์ ภู่พงษา |
Contributor | น้ำฝน เอกตาแสง, ที่ปรึกษา |
Publisher | มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
Publication Year | 2565 |
Keyword | มลพิษทางอากาศ, ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 10 ไมครอน, ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน, ผลกระทบสุขภาพ, Air pollution, PM10, PM2.5, Health impact |
Abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) และ 2.5 ไมครอน (PM2.5) กับข้อมูลสุขภาพของประชาชนในจังหวัดสระบุรี ระหว่างปี พ.ศ. 2559–2563 โดยใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรมควบคุมมลพิษจำนวน 2 สถานี และข้อมูลโรคที่เกิดจากมลพิษทางอากาศ 5 กลุ่มโรค ได้แก่ โรคระบบทางเดินหายใจ โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคตาอักเสบ โรคผิวหนังอักเสบ และโรคที่เกิดจากผลกระทบระยะยาว เช่น มะเร็งปอด จากฐานข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข ผลการศึกษาความสัมพันธ์ สหสัมพันธ์เพียร์สัน ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 พบว่า สถานีที่ 1 ระดับความเข้มข้นของ PM10 สูงสุดรายเดือนมีความสัมพันธ์เชิงลบระดับน้อยมากในกลุ่มโรคผิวหนังอักเสบ (r= -0.270) และระดับความเข้มข้น PM10 เฉลี่ยรายเดือนมีความสัมพันธ์เชิงบวกระดับน้อยในกลุ่มโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด (r= 0.328) และมีความสัมพันธ์เชิงลบระดับน้อยมากในกลุ่มโรคผิวหนังอักเสบ (r= -0.289) ส่วนระดับความเข้มข้นของ PM2.5 สูงสุดของเดือนมีความสัมพันธ์เชิงบวกระดับน้อยในกลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ (r= 0.324) และระดับความเข้มข้นของ PM2.5 เฉลี่ยรายเดือน มีความสัมพันธ์เชิงบวกระดับน้อยในกลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ (r= 0.339) ส่วนสถานีที่ 2 ระดับความเข้มข้นของ PM10 สูงสุดรายเดือนมีความสัมพันธ์เชิงบวกระดับน้อยมากในกลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ (r= 0.262) ส่วนระดับความเข้มข้นของ PM10 ค่าเฉลี่ยรายเดือน พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กับกลุ่มโรคจากมลพิษทางอากาศ ส่วนระดับความเข้มข้นของ PM2.5 สูงสุดของเดือนมีความสัมพันธ์เชิงบวกระดับน้อยในกลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ (r= 0.495) ส่วนระดับความเข้มข้นของ PM2.5 เฉลี่ยรายเดือน พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวกระดับน้อยในกลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ (r= 0.468) ข้อมูลที่ได้จากการศึกษานี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการติดตามเฝ้าระวังปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM10 และ PM2.5 ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ที่ศึกษาได้ |
ดิจิตอลไฟล์ |
Digital File #1 |