รหัสดีโอไอ | 10.14457/TU.the.2021.955 |
---|---|
Title | การดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมร่วมกับชุมชนกับความเป็นชุมชนเข้มแข็งของชุมชนโดยรอบโรงงานอุตสาหกรรมผลิตเครื่องดื่มจังหวัดขอนแก่น |
Creator | ณัฐธิดา แก้วก่ำ |
Contributor | พรทิพย์ สัมปัตตะวนิช, ที่ปรึกษา |
Publisher | มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
Publication Year | 2564 |
Keyword | ความรับผิดชอบต่อสังคม, การสื่อสารอย่างมีส่วนร่วม, ชุมชนเข้มแข็ง, ความคาดหวัง, Corporate social responsibility, Participatory communication, Community empowerment, Expectation |
Abstract | วิทยานิพนธ์เล่มนี้มุ่งศึกษาเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมร่วมกับชุมชนกับความเป็นชุมชนเข้มแข็งของชุมชนโดยรอบโรงงานอุตสาหกรรมผลิตเครื่องดื่ม จังหวัดขอนแก่น โดยใช้รูปแบบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured interview) และการสัมภาษณ์กลุ่ม (Group Interview) ผลการศึกษาพบว่า 1) ประเด็นการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมร่วมกับชุมชนของโรงงานอุตสาหกรรมผลิตเครื่องดื่ม จังหวัดขอนแก่น พบว่า องค์กรได้มีการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม 3 ขั้นตอน คือ ขั้นก่อนดำเนินงาน ขั้นดำเนินงาน และขั้นหลังดำเนินงาน 2) ประเด็นความเป็นชุมชนเข้มแข็งของชุมชนโดยรอบโรงงาน พบว่า ทั้งสองชุมชนมีความเป็นชุมชนเข้มแข็งในระดับน้อยถึงปานกลาง เนื่องจากทั้งชุมชนยังคงพึ่งพาความช่วยเหลือจากภายนอกชุมชน 3) ประเด็นความคาดหวังต่อการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของชุมชนโดยรอบโรงงาน พบว่า ชุมชนมีความคาดหวังให้องค์กรดำเนินการช่วยเหลือชุมชนในด้านต่างๆ โดยเฉพาะความคาดหวังให้องค์กรตรวจสอบพื้นที่ของสมาชิกในชุมชนที่ได้รับผลกระทบเรื่องปัญหาน้ำ4) ประเด็นความสอดคล้องระหว่างความเป็นชุมชนเข้มแข็งและความคาดหวังของชุมชนโดยรอบโรงงานกับการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม พบว่า ชุมชนมีความคาดหวังในการเป็นชุมชนเข้มแข็งไม่สอดคล้องต่อการดำเนินงานขององค์กร คือ ด้านความสามารถในการพึ่งตนเองของชุมชน และด้านความมั่นคงปลอดภัยของชุมชน ทั้งนี้การดำเนินงานด้านความรับผิดชอบขององค์กรส่วนใหญ่องค์กรมักมุ่งเน้นการดำเนินงานผ่านมุมมองชุมชนสัมพันธ์ (Community relations) ถ้าหากองค์กรได้มีการพัฒนาและต่อยอดเครือข่ายการสื่อสารให้กลายเป็นการสร้างความเป็นชุมชนให้กับแบรนด์ (Brand Community) จะสามารถทำให้องค์กรมีความน่าเชื่อถือ สร้างความภักดีให้สูงขึ้น และสามารถทำให้องค์กรเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกและแรงกระตุ้นภายใน (Insight) ของชุมชนเพื่อต่อยอดการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น |
ดิจิตอลไฟล์ |
Digital File #1 |