รหัสดีโอไอ | 10.14457/TU.the.2021.1179 |
---|---|
Title | การประยุกต์ใช้เมตาเวิร์สในการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดลำพูน |
Creator | นภนต์ โกมลมิศร์ |
Contributor | เกรียงศักดิ์ ภานุวัฒน์วนิชย์, ที่ปรึกษา |
Publisher | มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
Publication Year | 2564 |
Keyword | เมตาเวิร์ส, เศรษฐกิจฐานราก, การตลาดดิจิทัล, อำนาจอ่อน, Metaverse, Local economy, Digital marketing, Soft power |
Abstract | ในปัจจุบัน (พุทธศักราช 2565) เศรษฐกิจโลกชะลอตัวจากสงครามการค้า และโรคระบาดทั่วโลกยิ่งซ้ำเติมความรุนแรงของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำให้รุนแรงหนักขึ้นไปอีก ซ้ำด้วยสงครามในพื้นที่โซเวียตเก่าที่รั้งการฟื้นตัวของแต่ละประเทศหลังโรคระบาดซ้ำอีกครั้ง ในประเทศไทยเองก็มีปัจจัยที่ส่งผลต่อความถดถอยเสริมด้วย เช่น การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุสมบูรณ์ การเมืองภายในประเทศที่มีเสถียรภาพต่ำ ค่าแรงที่สูงต่อเนื่องเมื่อเทียบกับประเทศใกล้เคียงที่เป็นคู่แข่งทางการลงทุน นักเรียนที่หลุดออกจากระบบการศึกษาจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ซึ่งในการฝ่าอุปสรรคทั้งหมดนั้นคือการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ตามใจความหลักของทฤษฏีเศรษฐกิจพอเพียงขณะที่สถานการณ์โลกเป็นดังที่กล่าวไป แต่เทคโนโลยีการสื่อสารและการเชื่อมต่อนั้นยังคงพัฒนาต่อไปเรื่อย ๆ กระทั่งการเกิดขึ้นของโรคระบาดครั้งใหญ่ได้ระบาดไปทั่วโลก ผลักดันให้ผู้คนต้องรักษาระยะห่างในการทำกิจกรรม เทคโนโลยีสื่อสารและเชื่อมต่อจึงมีความต้องการมากและพัฒนาอย่างก้าวกระโดด กระทั่งพุทธศักราช 2564 มีการเปิดตัวโครงสร้างการสื่อสารใหม่ที่เรียกว่า “เมตาเวิร์ส” ที่มีความสามารถยิ่งยวดและอาจเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพที่ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากได้ปริญญานิพนธ์ฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการวางแผน การออกแบบ และแนวทางปฏิบัติ เมื่อนำเมตาเวิร์สมาประยุกต์ใช้ในพื้นที่ชุมชนของไทยเพื่อนำมาส่งเสริมเศรษฐกิจระดับฐานรากในชุมชนท้องถิ่น โดยสรรหาวิธีการนำเสนอที่ดึงดูดร่วมกับการทำการตลาดดิจิทัลและการใช้ประโยชน์จากสื่อและอำนาจอ่อนในการนำเสนอสินค้าและคุณค่าท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการขายและกระตุ้นการรับรู้คุณค่าท้องถิ่น นำไปสู่การเติบโตในธุรกิจชุมชน อันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชน ได้มีกินอย่างพอเพียง ซึ่งจะเพิ่มโอกาสให้ทายาทในท้องถิ่นนั้น ๆ ได้เข้าถึงการศึกษาที่สูงขึ้น แล้วพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งสืบต่อไป ผู้จัดทำจึงคิดวางแผน ปรับปรุง แก้ไขด้วยตัวเอง รวมถึงฟังความคิดเห็นจากหลายฝ่าย และหวังว่างานวิจัยนี้จะเป็นแนวให้นำไปใช้ประโยชน์ต่อประชาชนได้อย่างทั่วถึงอย่างยิ่งยวด |
ดิจิตอลไฟล์ |
Digital File #1 |