รหัสดีโอไอ | 10.14457/TU.the.2019.1328 |
---|---|
Title | การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล |
Creator | เกตกนก แก้วนพรัตน์ |
Contributor | ศิกานต์ อิสสระชัยยศ, ที่ปรึกษา |
Publisher | มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
Publication Year | 2562 |
Keyword | โรงเรียนขนาดเล็ก ,การระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา ,การมีส่วนร่วมของชุมชน ,Small schools ,Educational resource mobilization ,Community participation |
Abstract | การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยของการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัยและเก็บข้อมูลจาก 4 โรงเรียน ใน 4 จังหวัด จากกลุ่มตัวอย่าง 264 คน ทำการวิเคราะห์ผลโดยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ F-test หรือ ANOVA ผลการวิจัยพบว่าชุมชนยังขาดการมีส่วนร่วมในการจัดการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา และปัจจัยที่จะทำให้เกิดการมีส่วนร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการและร่วมในการติดตามประเมินผลในการระดมทรัพยากรการศึกษา ประกอบด้วย1. ปัจจัยการสื่อสาร ได้แก่ การสื่อสารอย่างเป็นทางการ การสื่อสารแบบไม่เป็นทางการ และสื่อสารผ่านช่องทางสื่อต่างๆ (Media channel)2. ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ การมีเวลาว่างที่เพียงพอ อยู่ในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย และความพร้อมของฐานะการเงิน3. ปัจจัยส่งเสริมสนับสนุน ได้แก่ ความผูกพันกับโรงเรียน การรับรู้สภาพปัญญหาของโรงเรียน และการเปิดโอกาสให้เข้าร่วม4.ปัจจัยจูงใจ ได้แก่ การที่ผู้เข้าร่วมมองเห็นว่าตนได้รับประโยชน์ตอบแทน ชื่อเสียงหรือรางวัลจูงใจ ปัญหาและอุปสรรคของการมีส่วนร่วม คือ ขาดการประชาสัมพันธ์และการสื่อสารระหว่างโรงเรียนและชุมชน ปัญหาความยากจน และปัญหาความขัดแย้งของคนในชุมชนผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าปัจจัยการเข้าไปมีส่วนร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินงาน และการร่วมติดตาม ประเมินผลการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลแต่ละโรงเรียนแตกต่างกัน เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัย มีความสอดคล้องกับกรอบแนวคิดและทฤษฎีของการวิจัย |
ดิจิตอลไฟล์ |
Digital File #1 |