รหัสดีโอไอ | 10.14457/TU.the.2019.1321 |
---|---|
Title | การกำกับดูแลสื่อผ่านกลไกของรัฐในการจัดตั้งสภาวิชาชีพสื่อมวลชนตามแนวทางการส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อของแผนปฏิรูปประเทศด้านสื่อสารมวลชนเทคโนโลยีสารสนเทศ |
Creator | จารุภา ตวงสิทธินันท์ |
Contributor | อัมพร ธำรงลักษณ์, ที่ปรึกษา |
Publisher | มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
Publication Year | 2562 |
Keyword | การกำกับดูแลสื่อ ,จริยธรรมสื่อมวลชน ,สภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติ ,แนวทางการกำกับดูแล ,พระราชบัญญัติส่งเสริมจริยธรรมและวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ. .... ,Media regulation ,Media ethics ,National Media Council ,Regulatory guidelines ,Media Ethical and Practice Standard Promotion Act |
Abstract | การศึกษาเรื่อง “การกำกับดูแลสื่อผ่านกลไกของรัฐในการจัดตั้งสภาวิชาชีพสื่อมวลชน ตามแนวทางการส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อ ของแผนปฏิรูปประเทศ ด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์และการกำกับดูแลสื่อมวลชนในปัจจุบัน รวมถึงความคิดเห็นของสื่อมวลชนที่มีต่อการจัดตั้งสภาวิชาชีพสื่อมวลชน เพื่อให้ได้แนวทางการกำกับดูแลสื่อผ่านกลไกของรัฐในการจัดตั้งสภาวิชาชีพสื่อมวลชน ตามแนวทางการส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อ ของแผนปฏิรูปประเทศด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์จากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นสื่อมวลชนผู้ปฏิบัติงานในสื่อโทรทัศน์ที่ให้บริการระบบภาคพื้นดิน จำนวน 6 สถานีโทรทัศน์ และใช้ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ. .... (ฉบับรับฟังความคิดเห็น) เป็นองค์ประกอบในการศึกษา ผลการศึกษาพบว่า สื่อมวลชนดำเนินงานตามหลักจริยธรรมสื่อมวลชน แต่ยังมีบางส่วนที่ละเมิดจริยธรรม เนื่องจากการแข่งขันทางด้านธุรกิจ ความรวดเร็ว และยอดผู้ชม โดยปัจจุบันมีกลไกการกำกับดูแลสื่อมวลชนที่หลากหลายดังนี้ การกำกับดูแลโดยรัฐ ได้แก่ กฎหมายทั้งที่เกี่ยวข้องกับสื่อมวลชนโดยตรง และกฎหมายอื่นๆ ที่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน นอกจากนี้ยังมีการกำกับดูแลในรูปแบบคณะกรรมการของรัฐ เช่น คณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ และการกำกับดูแลในรูปแบบองค์กรอิสระ เช่น คณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) และมีการกำกับดูแลกันเอง โดยมีจริยธรรมวิชาชีพสื่อมวลชนเป็นเครื่องมือในการกำกับดูแล ทั้งในระดับองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน ระดับหน่วยงาน และระดับบุคคลทั้งนี้ การจัดตั้งสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติ อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ. .... ตามแนวทางการส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อ ของแผนปฏิรูปประเทศ ด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ สื่อมวลชนมีความเห็นว่า สภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติควรทำหน้าที่ส่งเสริมการกำกับดูแลกันเอง รวมถึงคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของสื่อมวลชน และสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติควรทำหน้าที่อย่างโปร่งใส เท่าเทียม เป็นกลาง และเป็นธรรม ปราศจากการถูกแทรกแซงนอกจากนี้ ภาครัฐยังควรส่งเสริมการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชน โดยไม่แทรกแซงการทำงาน ภาคประชาชนควรร่วมกันตรวจสอบการทำงานของสื่อและสะท้อนความคิดเห็นผ่านช่องทางต่างๆ และผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนควรส่งเสริมการกำกับดูแลกันเองให้มีประสิทธิภาพ และสนับสนุนการทำหน้าที่ของสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติทั้งนี้ แนวทางการกำกับดูแลสื่อผ่านกลไกของรัฐ ในการจัดตั้งสภาวิชาชีพสื่อมวลชน ควรเป็นไปในรูปแบบการกำกับดูแลกันเอง โดยหารือและทำงานประสานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สมาคมวิชาชีพสื่อมวลชน องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน และหารือร่วมกับคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อไม่ให้เกิดการทำงานซ้ำซ้อน และช่วยให้การกำกับดูแลสื่อมวลชนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติควรนำหลักธรรมาภิบาลมาปรับใช้ในการดำเนินงานด้วยข้อเสนอแนะของการศึกษา ได้แก่ 1) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย การกำกับดูแลสื่อมวลชนควรใช้หลักการมีส่วนร่วม และสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติควรทำหน้าที่อย่างเป็นอิสระจากรัฐ 2) ข้อเสนอแนะเชิงวิชาการ ควรสร้างความตระหนักในจริยธรรมวิชาชีพสื่อมวลชนและการทำหน้าที่บนพื้นฐานของความรับผิดชอบ และเสริมสร้างองค์ความรู้เรื่องการรู้เท่าทันสื่อ และ 3) ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติ ได้แก่ การเพิ่มช่องทางในการสะท้อนความคิดเห็นการทำงานของสื่อมวลชน และสร้างแรงจูงใจให้สื่อมวลชนทำหน้าที่อย่างมีความรับผิดชอบ และ 4) ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อไป ควรศึกษากลุ่มตัวอย่างให้ครอบคลุมถึงสื่อมวลชนประเภทอื่นๆ รวมถึงการศึกษาในกรณีที่ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ. .... และได้มีการจัดตั้งสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติเรียบร้อยแล้ว |
ดิจิตอลไฟล์ |
Digital File #1 |