รหัสดีโอไอ | 10.14457/TU.the.2019.1241 |
---|---|
Title | ปัญหาทางกฎหมายว่าด้วยอำนาจในการบริหารงานบุคคลของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 19/2560 |
Creator | มณฑรส สุวรรณ |
Contributor | สุรพล นิติไกรพจน์, ที่ปรึกษา |
Publisher | มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
Publication Year | 2562 |
Keyword | ศึกษาธิการจังหวัด ,คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด ,กระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค ,Provincial education officer ,Provincial education commission ,Ministry of Education in the region |
Abstract | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษา คำสั่ง คสช.ที่ 19/2560 ที่ให้ปรับเปลี่ยนอำนาจบริหารบุคคลของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาคจากเดิมที่อำนาจตามมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 เป็นอำนาจของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหรือผู้อำนวยการสถานศึกษาแล้วแต่กรณี โดยความเห็นชอบของ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา เปลี่ยนไปเป็นอำนาจของศึกษาธิการจังหวัด โดยความเห็นชอบของ กศจ. ส่งผลต่อการบริหารบุคคลของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาคอย่างไร โดยผลของคำสั่ง คสช. ฉบับนี้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการใช้อำนาจบริหารบุคคลกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาคผ่านศึกษาธิการจังหวัดได้ในฐานะผู้บังคับบัญชาของศึกษาธิการจังหวัด โดยที่เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานยังคงมีอำนาจในการบริหารทั่วไปและอำนาจบังคับบัญชาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา จึงเป็นการเพิ่มองค์กรซึ่งเป็นราชการส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการให้มีอำนาจบริหารสถานศึกษาเป็นสององค์กร โดยแยกองค์กรที่มีอำนาจบังคับบัญชาและองค์กรที่มีอำนาจบริหารบุคคลออกจากกัน จึงเป็นปัญหาต่อผู้ปฏิบัติที่ต้องเพิ่มกระบวนการและขั้นตอนในการบริหารบุคคลและยังมีความสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ทำให้การปฏิบัติงานล่าช้ามากขึ้นกว่าเดิม การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างการบริหารงานบุคคลของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาคทั้งก่อนและภายหลังประกาศใช้คำสั่ง คสช.ที่ 19/2560 ว่าส่งผลต่อการใช้อำนาจการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาอย่างไรบ้าง โดยทำการศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่มีอยู่แล้ว จากการศึกษาพบว่าอำนาจบริหารบุคคลของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาคตามโครงสร้างดังกล่าว มีความซ้ำซ้อนกันในการปฏิบัติงาน เพิ่มขั้นตอนการทำงาน ทำให้เกิดความล่าช้าโดยไม่จำเป็น ผู้เขียนเห็นว่าควรโอนอำนาจการบริหารงานบุคคลคืนให้กับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหรือสถานศึกษาโดยตรง และศึกษาธิการจังหวัดควรทำหน้าที่เพียงตรวจสอบและขับเคลื่อนนโยบายเท่านั้น |
ดิจิตอลไฟล์ |
Digital File #1 |