![]() |
ภูมิศาสตร์แห่งอารมณ์: ถ้อยคำอารมณ์ผ่านทวิตเตอร์กับสุขภาวะของประชากรเชิงพื้นที่ กรณีศึกษาพื้นที่ภาคตะวันออก |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | จิรายุทธ สุวรรณสังข์ |
Title | ภูมิศาสตร์แห่งอารมณ์: ถ้อยคำอารมณ์ผ่านทวิตเตอร์กับสุขภาวะของประชากรเชิงพื้นที่ กรณีศึกษาพื้นที่ภาคตะวันออก |
Contributor | อรจิรา ติตติรานนท์, กาญลดา บรรลุพงษ์, อารีรัตน์ แพทย์นุเคราะห์ |
Publisher | คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
Publication Year | 2565 |
Journal Title | วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
Journal Vol. | 22 |
Journal No. | 3 |
Page no. | 127-156 |
Keyword | ภูมิศาสตร์อารมณ์, ถ้อยคำอารมณ์, ทวิตเตอร์, สุขภาวะประชากร, ภาคตะวันออก |
URL Website | https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/ |
Website title | วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
ISSN | 2672-9814 |
Abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอารมณ์ของผู้คนแต่ละจังหวัดในพื้นที่ภาคตะวันออกผ่านถ้อยคำอารมณ์บนพื้นที่ทวิตเตอร์และเพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างถ้อยคำอารมณ์ดังกล่าวกับสุขภาวะของประชากร เชิงพื้นที่ โดยวิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บได้จากการสำรวจบัญชีทวิตเตอร์สาธารณะของผู้คนในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคตะวันออก เป็นจำนวนอย่างน้อยจังหวัดละ 400 บัญชี ในปี พ.ศ. 2561 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือสถิติสหสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่าระดับอารมณ์ของผู้คนในพื้นที่ภาคตะวันออกที่สะท้อนผ่านถ้อยคำอารมณ์บนพื้นที่ทวิตเตอร์อยู่ในระดับปานกลางค่อนไปทางสูงและใกล้เคียงกัน โดยจังหวัดที่มีระดับคะแนนอารมณ์สูงที่สุด คือ จังหวัดชลบุรี เทียบเป็นระดับคะแนน 6.217 จาก 10 คะแนน และจังหวัดที่มีระดับอารมณ์ต่ำที่สุด คือ จังหวัดสระแก้ว เทียบเป็นระดับคะแนน 5.929 จาก 10 คะแนน ขณะที่ค่าสถิติสหสัมพันธ์บ่งชี้ว่าระดับอารมณ์ของผู้คนที่สะท้อนผ่านถ้อยคำอารมณ์บนพื้นที่ทวิตเตอร์ดังกล่าวมีความสัมพันธ์กับสุขภาวะของประชากรเชิงพื้นที่ในมิติที่เกี่ยวเนื่องกับองค์ประกอบทางด้านการมี สุขภาวะที่ดี การมีเศรษฐกิจเข้มแข็งและเป็นธรรม และการสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ของดัชนีความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยความสัมพันธ์ดังกล่าวอยู่ในระดับที่แตกต่างกันไป กล่าวคือ มีความสัมพันธ์สูงแบบผกผันกับสัดส่วนคนจนที่ระดับค่าสหสัมพันธ์ -0.88 และมีความสัมพันธ์ปานกลางกับอัตราผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในจังหวัดต่อหัวที่ระดับค่าสหสัมพันธ์ 0.50 แต่มีความสัมพันธ์ในระดับต่ำกับสุขภาวะของประชากรประการอื่น ๆ |