![]() |
เอกลักษณ์ชุมชนริมฝั่งชายทะเลบนผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ : กรณีศึกษาบ้านโคกขามจังหวัดสมุทรสาคร |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | พิชญา คุ้มแคว้น |
Title | เอกลักษณ์ชุมชนริมฝั่งชายทะเลบนผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ : กรณีศึกษาบ้านโคกขามจังหวัดสมุทรสาคร |
Contributor | บุณยนุช นาคะ, ศุภารมย์ ประสาทแก้ว, รัชพล แย้มกลีบ |
Publisher | Kasem Bundit University |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | Kasem Bundit Journal |
Journal Vol. | 26 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 1-13 |
Keyword | เอกลักษณ์ชุมชน, ผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมสี, เศรษฐกิจสร้างสรรค์ |
URL Website | https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jkbu |
ISSN | 2672-9954 |
Abstract | PURPOSES: To study the traditional knowledge of natural tie-dyeing techniques in Ban Khok Kham, Samut Sakhon province, and to design patterns that reflected the unique identity of the community on naturally dyed fabrics from Ban Khok Kham. METHODS: The research methodology employed was qualitative research (action research design), using in-depth interviews to collect data from a sample group of 20 participants, and participate in the design of pattern-making tools among researchers, community, and pattern designers. RESULTS: The sample group chose motifs such as the Mahachai fighting fish, nipa palm leaves, and nipa palm trees to reflect the unique identity of Samut Sakhon province, and the motifs were tried out in the community enterprise, and the processes were transferred to the community, leading to further development of patterns and tools. The overall satisfaction rate was 97.63%. THEORETICAL/ POLICY IMPLICATIONS: Traditional knowledge of natural dyeing processes practiced by the Ban Khok Kham tie-dye community enterprise can be used as a tool for designing unique community patterns on natural tie-dyed fabric. This, in turn, can foster innovation and promote the creative economy within the community. วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาภูมิปัญญาการทำผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติของบ้านโคกขาม จังหวัดสมุทรสาคร และออกแบบลวดลายเอกลักษณ์ชุมชนของผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติของบ้านโคกขาม วิธีการวิจัย การวิจัยเชิงคุณภาพ (รูปแบบการวิจัยดำเนินการ) โดยเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 20 คน และร่วมออกแบบอุปกรณ์สร้างลวดลายระหว่างคณะผู้วิจัย ชุมชน และนักออกแบบลวดลาย ผลการวิจัย กลุ่มตัวอย่างได้เลือก ปลากัดมหาชัย ใบจากและต้นจาก เพื่อสะท้อนถึงเอกลักษณ์ของจังหวัดสมุทรสาคร และได้นำไปทดลองใช้กับวิสาหกิจชุมชน ถ่ายทอดกระบวนการแก่ประชาคม และร่วมพัฒนาลวดลายและเครื่องมือเพิ่มเติม ซึ่งได้ผลความพึงพอใจในภาพรวมร้อยละ 97.63 นัยทางทฤษฎี/นโยบาย ภูมิปัญญาหัตถกรรมกระบวนการย้อมผ้าสีธรรมชาติของวิสาหกิจชุมชนผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติบ้านโคกขาม สามารถนำไปออกแบบอุปกรณ์สร้างลวดลายบนผืนผ้ามัดย้อมให้มีเอกลักษณ์ชุมชนซึ่งนำไปสู่การพัฒนานวัตกรรม และสร้างเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในชุมชน |