![]() |
สัจนิยมมหัศจรรย์ในนวนิยายเรื่อง สมิงสำแดง ของเอกา กุรณียาวัน |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ศิวกร แรกรุ่น |
Title | สัจนิยมมหัศจรรย์ในนวนิยายเรื่อง สมิงสำแดง ของเอกา กุรณียาวัน |
Contributor | มาโนช ดินลานสกูล, พัชลินจ์ จีนนุ่น |
Publisher | คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
Publication Year | 2565 |
Journal Title | วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
Journal Vol. | 22 |
Journal No. | 3 |
Page no. | 235-260 |
Keyword | สัจนิยมมหัศจรรย์, สมิงสำแดง, อินโดนีเซีย |
URL Website | https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/ |
Website title | วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
ISSN | 2672-9814 |
Abstract | บทความนี้มุ่งศึกษากลวิธีการประพันธ์แนวสัจนิยมมหัศจรรย์ในนวนิยายเรื่อง สมิงสำแดง ของเอกา กุรณียาวัน พบว่าผู้แต่งใช้กลวิธีที่โดดเด่น 3 กลวิธี ได้แก่ การสร้างเหตุการณ์ พบ 3 เหตุการณ์ คือ มาร์ฆีโอสมสู่กับเสือขาว เป็นสัญญะของวัฒนธรรมท้องถิ่นที่มีอิทธิพลเหนือภาวะสมัยใหม่ มาเมะห์เห็นเงา และแววตาเสือในร่างของมาร์ฆีโอ เป็นสัญญะของวัฒนธรรมเก่าที่มีอิทธิพลเหนือวัฒนธรรมใหม่ และมาร์ฆีโอฆ่าอันวาร์ ซาดัต เป็นสัญญะของชนพื้นเมืองที่ต่อต้านผู้บุกรุก การสร้างตัวละคร พบ 2 ตัวละคร คือ มาร์ฆีโอ เป็นสัญญะของผู้สืบทอดวัฒนธรรมท้องถิ่น และ เสือขาว เป็นสัญญะของบรรพบุรุษของชนพื้นเมือง และการสร้างฉาก พบ 1 ฉาก คือ หลุมศพของกอร์มา บิน ซูเอิบ เป็นสัญญะของดินแดนที่ไม่ต้อนรับคนนอก ส่วนแนวคิดที่นำเสนอผ่านสัจนิยมมหัศจรรย์ในนวนิยาย เรื่อง สมิงสำแดง ของเอกา กุรณียาวัน พบว่าผู้แต่งนำเสนอแนวคิดสำคัญ 2 แนวคิด ได้แก่ แนวคิดเกี่ยวกับความเป็นท้องถิ่นอินโดนีเซีย คือ รูปปั้นเสือสิลีวังงี ญิน เลอเลิด ชามัก และนิทานสุมาตราที่เป็นสัญญะของความเป็นท้องถิ่น และแนวคิดเกี่ยวกับการโต้กลับเชิงวัฒนธรรม สังคม และประวัติศาสตร์ของความเป็นท้องถิ่นกับความเป็นเมืองหลวง ได้แก่ บรรพบุรุษเมือง และมะ ราบิอะฮ์ ที่นำเสนอประวัติศาสตร์ท้องถิ่น นูราเอนีกับห้องครัว ที่นำเสนอพื้นที่หลบซ่อนของผู้หญิงในสังคมอินโดนีเซียสมัยใหม่ |