ต้นทุนและอัตราคืนทุนของโรงพยาบาล ในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
รหัสดีโอไอ
Creator อรทัย เขียวเจริญ
Title ต้นทุนและอัตราคืนทุนของโรงพยาบาล ในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
Contributor ชัชชน ประเสริฐวรกุล, ธันวา ขัติยศ, ทยาภา ศรีศิริอนันต์, พงษ์ลัดดา หล่ำพู่, พฤทธิกร พรรณารุโณทัย, อสมา วงษ์ดี, สุภาพร ชูดำ, ชัยโรจน์ ซึงสนธิพร, ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย
Publisher สำนักพัฒนากลุ่มโรคร่วมไทย
Publication Year 2568
Journal Title สรรพสาร สมสส. (HISPA Compendium)
Journal Vol. 2
Journal No. 2
Page no. 1-16
Keyword ต้นทุนโรงพยาบาล, ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม, อัตราคืนทุน
URL Website https://www.tcmc.or.th/home-tcmc
Website title Thai CaseMix Centre
ISSN 3027-6330
Abstract โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นปัญหาสำคัญที่เพิ่มขึ้นตามอายุของประชากร ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและสร้างภาระต้นทุนทางการแพทย์สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนบริการผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อต้นทุนและอัตราคืนทุนของโรงพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม จากข้อมูลต้นทุน ภาคตัดขวางหลายปี (multi cross-sectional study) แหล่งข้อมูลที่ใช้ คือ ข้อมูลต้นทุนผู้ป่วยในรายบุคคลของโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการวิเคราะห์ต้นทุนรายโรค ที่ศึกษาต้นทุนในมุมมองของผู้ให้บริการ (provider perspective) ใช้วิธีการคํานวณต้นทุนบริการทางการแพทย์แบบมาตรฐานจากบนลงล่าง (top-down method) วิธีต้นทุนจุลภาค (bottom-up method) รวม 5 ปีงบประมาณ (2561-2565) คัดเลือกข้อมูลผู้ป่วยในที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม (total knee replacement) โดยมีเกณฑ์การเลือกผู้ป่วยคือ 1) มีรหัสหัตถการ ICD-9-CM รหัส 8154 total knee replacement 2) จัดอยู่ในกลุ่มโรค (disease cluster, DC) DC0803 knee replacement (การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม) จากการจัดกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมไทย ฉบับ 6.3 (Thai diagnosis related group, TDRG) 3) ผู้ป่วยที่นอนโรงพยาบาลตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป 4) มีค่ารักษาในหมวดอุปกรณ์และอวัยวะเทียมมากกว่าหรือเท่ากับ 20,000 บาท 5) มีต้นทุนค่าทำหัตถการและวิสัญญี (เหมารวม) มากกว่าหรือเท่ากับ 5,000 บาท 6) เลือกเฉพาะผู้ป่วยที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จากนั้นวิเคราะห์ต้นทุนและปัจจัยที่มีผลต่อต้นทุนของการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมที่ไม่มีความซับซ้อนสำคัญ (DRG 08030 knee replacement without significant cost and clinical complexity (wo sig CCC)) รวมทั้งอัตราส่วนต้นทุนต่อค่ารักษา และอัตราคืนทุนของ โรงพยาบาล สถิติที่ใช้ประกอบด้วยสถิติเชิงบรรยาย และสมการถดถอย (multiple regression analysis)ผลการศึกษา พบว่า ได้ข้อมูลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมตามเกณฑ์จากโรงพยาบาล 34 แห่ง รวม 5,621 ราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง 4,541 ราย (ร้อยละ 80.8) อายุเฉลี่ย 65.3 ปี (SD 7.2) เป็นผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมากที่สุด รวม 4,197 ราย (ร้อยละ 74.7) และอยู่ในกลุ่ม DRG 08030 knee replacement wo sig CCC รวม 5,395 ราย (ร้อยละ 96) โรงพยาบาลมีต้นทุนเฉลี่ย 80,434 บาทต่อราย (SD 23,389) ค่ากลาง 76,596 ผู้ป่วยอายุมากกว่า 65 ปี มีต้นทุนสูงสุดเฉลี่ย 81,284 บาทต่อราย (SD 24,484) ค่ากลาง 77,077 โรงพยาบาลทั่วไปและ โรงพยาบาลศูนย์ขนาด 500–699 เตียง มีต้นทุนสูงสุดเฉลี่ย 88,117 บาทต่อราย (SD 27,204) ค่ากลาง 80,259 รองลงมา คือ กลุ่มโรงพยาบาลศูนย์ขนาด 700 – 1,000 เตียง 85,616 บาทต่อราย (SD 28,417) ค่ากลาง 25,243 ผู้ป่วยสิทธิ ประกันสังคม มีต้นทุนเฉลี่ยต่อราย สูงสุด 83,140 บาท (SD 26,302) ค่ากลาง 78,657 รองลงมาคือ สิทธิข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) 82,117 บาทต่อราย (SD 24,820) ค่ากลาง 75,944 สิทธิสวัสดิการข้าราชการ 80,933 บาทต่อราย (SD 24,175) ค่ากลาง 77,055 และสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 80,561 บาทต่อราย (SD 24,102) ค่ากลาง 76,263 การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อต้นทุนด้วยสมการถดถอย พบว่า วันนอน กลุ่มโรงพยาบาล สิทธิการรักษา และต้นทุนข้อเข่าเทียม สามารถอธิบายความแปรผันของต้นทุนการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมต่อราย อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ร้อยละ 86.1 (Adjusted R-square 0.86, p<0.001) โดยโรงพยาบาลขนาดใหญ่ 300 เตียงขึ้นไป มีต้นทุนตํ่ากว่าโรงพยาบาลขนาดเล็ก ในภาพรวมในการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดข้อเข่าของโรงพยาบาลมีอัตราส่วนต้นทุนต่อราคาขาย หรือ ratio of cost to charge (RCC) เท่ากับ 0.81 และอัตราการคืนทุนร้อยละ 98.2 โดยผู้ป่วยสิทธิสวัสดิการข้าราชการ มีอัตราคืนทุนสูงสุดร้อยละ 118.8 รองลงมาคือ สิทธิประกันสังคม ร้อยละ 104.3 สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีอัตราคืนทุนต่ำสุดร้อยละ 92.9 โรงพยาบาลศูนย์ขนาดมากกว่า 1,000 เตียง มีอัตราคืนทุนสูงสุดร้อยละ 123.8 รองลงมา คือ กลุ่มโรงพยาบาลทั่วไปขนาด 300 – 499 เตียง ร้อยละ 97.9 และ กลุ่มโรงพยาบาลทั่วไปขนาด 60 – 299 เตียง ร้อยละ 93.8 สรุป การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมมีต้นทุนสูงและแปรผันตามระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล ขนาดของโรงพยาบาล สิทธิการรักษา และต้นทุนข้อเข่าเทียม โรงพยาบาลสามารถบริหารอัตราคืนทุนเกือบเต็มจำนวน ข้อมูลจากการศึกษานี้สามารถใช้ในการวางแผนการจัดสรรทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ขณะเดียวกัน ผู้กกำหนดนโยบายสามารถนําข้อมูลนี้ไปใช้ใน การวางแผนการจัดสรรทรัพยากรเพื่อป้องกันและรักษาผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในประเทศไทย แต่การนําไปใช้ ประโยชน์ต้องระมัดระวัง เพราะเป็นข้อมูลของโรงพยาบาลจำนวนหนึ่ง ควรพัฒนาให้ได้ฐานข้อมูลจากโรงพยาบาลครอบคลุมมากขึ้น
Thai CaseMix Centre

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ